วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คุณสมบัติ ของ "พระภิกษุที่สามารถสอนพระภิกษุณี"

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังยืน และ ข้อความ

คุณสมบัติ ของ "พระภิกษุที่สามารถสอนพระภิกษุณี"
===================================

เนื่องด้วย...มีเพื่อนสหธรรมิกบางท่านได้ฝากข้อความไว้ในกล่องข้อความ ถามถึงเรื่อง "คุณสมบัติของ "พระภิกษุที่สามารถสอนพระภิกษุณี" ต้องเป็นเช่นใด...?

คุณสมบัติ ๘ ประการ...ของ "พระภิกษุที่สามารถสอนพระภิกษุณี" ตามพุทธบัญญํติ (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ ข้อ ๔๐๗ เรื่อง "องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี")

ข้าพเจ้า...กราบขอโอกาส พระมหาเถรานุเถระ / เพื่อนสหธรรมิกทุกรูป ที่จะตอบข้อสงสัยตาม "พุทธบัญญัติ" จากพระไตรปิฏก (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ ข้อ ๔๐๗ เรื่อง "องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี" ) ดังมีเรื่องต้นบัญญัติแบบคร่าว ๆ และ พุทธบัญญัติ คือ

เรื่องต้นบัญญัติ
--------------------
ภิกษุฉัพพัคคีย์ เห็นภิกษุอื่น ๆ สอนนางภิกษุณีแล้วได้รับของถวายต่าง ๆ อยากจะมีลาภบ้าง จึงแจ้งความประสงค์แก่นางภิกษุณีทั้งหลาย เมื่อนางภิกษุณีไปสดับโอวาทก็สอนเพียงเล็กน้อย แล้วชวนสนทนาเรื่องไร้สาระโดยมาก พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุที่ไม่ได้รับสมมติจากสงฆ์ สอนนางภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภายหลังภิกษุฉัพพัคคีย์หาทางสมมติกันเองในที่นอกสีมา พระผู้มีพระภาคจึงทรงกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับภิกษุ ที่จะสอนนาง ภิกษุณีถึง ๘ ข้อ

องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี
---------------------------------------------------
๑. เป็นผู้มีศีล คือสำรวมด้วยปาติโมกขสังวรศีล สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจรอยู่มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

๒. เป็นพหูสูต คือทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นได้สดับมาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยปัญญา

๓. ทรงพระปาฏิโมกข์ทั้งสอง (ภิกษุปาฏิโมกข์และภิษุณีปาฏิโมกข์) มาแล้วด้วยดีโดยพิสดาร แก่ภิกษุนั้น คือ ภิกษุนั้นจำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยได้เรียบร้อยโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย ชัดเจน

๕. เป็นที่นิยมชมชอบของภิกษุณีโดยมาก

๖. เป็นผู้สามารถกล่าวสอนภิกษุณีได้

๗. เป็นผู้ไม่เคยล่วงครุธรรม กับสตรีผู้ครองผ้ากาสายะซึ่งบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ และ

๘. มีพรรษาได้ ๒๐ หรือเกิน ๒๐

ดูกรภิกษุทั้งหลาย...เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์คุณ ๘ ประการนี้ ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีได้.

------ (จบบัญญัติ) -------

ท้ายนี้...หากการตอบคำถามนี้ทำให้เกิดความระคายเคืองแก่ท่านผู้ที่ได้เข้ามาอ่านประการใด ...ข้าพเจ้าขอขมาพระคุณเจ้าทุกรูปมา ณ โอกาสนี้ด้วย

กราบนมัสการด้วยความเคารพยิ่ง

~ ธัมมวิชชา ภิกษุณี (ดร.กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ) ~
สวนปฏิบัติธรรมอริยทรัพย์
ภูตะวันรีสอร์ท ๔ ปากช่อง จ.นครราชสีมา
โทรศัพท์ ๐๘๘ - ๑๔๑๕๖๖๕

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คำขอบวช "พระภิษุณี" โดย ธัมมวิชชา ภิกษุณี (ดร.กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ)



พิธีอุปสมบท "พระภิกษุณี" เริ่มต้นจาก
=========================

๑. การขอขมาพ่อแม่ ญาติพี่น้องและศาสนิกชนชาวพุทธ

๒. เวียนประทักษิณรอบอุโบสถ ๓ รอบ

๓. กราบอุปัชฌาย์ กรมวาจาจารย์ และพระคู่สวด และพระอาจารย์ฝ่ายภิกษุณี

๔. ญาติโยมชาวกัมพูชาสวดมนต์บูชาคุณพระรัตนตรัย

๕.เริ่มต้นพิธีการอุปสมบท (คำขออุปสมบท "พระภิษุณี")

 
คำวันทาสีมา และคำวันทาพระประธาน
----------------------------------------------

อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
( นั่งคุกเข่า ประนมมือ กล่าวว่า )
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
( กราบ ๑ ครั้ง ประนมมือ กล่าวว่า )
อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต ( กราบ ๑ ครั้ง ยืนขึ้นประนมมือ กล่าวว่า )
วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
( นั่งคุกเข่า ประนมมือ กราบ ๓ ครั้ง )


คำขอนิสัย
-------------

อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
( อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ) กล่าว ๓ จบ

พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า            สิกขมานาผู้ขออุปสมบทกล่าวรับว่า
""""""""""""""""""""""""       """""""""""""""""""""""""""""""""""
ปะฏิรูปัง                                   สาธุ ภันเต
โอปายิกัง                                สาธุ ภันเต
ปาสาทิเกนะ สัมปาเทถะ           สาธุ ภันเต

เมื่อกล่าวรับจบ ให้สามเณรีกล่าวต่อไปว่า
(อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร)
กล่าว ๓ จบ แล้วกราบ ๓ ครั้ง


คำบอกบริขาร
-----------------

กรรมวาจาจารย์กล่าวว่า           สิกขมานาผู้ขออุปสมบทกล่าวรับว่า
""""""""""""""""""""""""          """""""""""""""""""""""""""""""""
อะยันเต ปัตตา?                        อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ จีวะรัง?                อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังคะ จีวะรัง?       อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะกะ จีวะรัง?    อามะ ภันเต
อะยัง อุทะกะสาฏิกา จีวะรัง?      อามะ ภันเต
อะยัง สังกัจฉิกา จีวะรัง?            อามะ ภันเต


คำถามอันตรายิกธรรม ๒๔ ข้อ
------------------------------------

กรรมวาจาจารย์กล่าวว่า               สิกขมานาผู้ขออุปสมบทกล่าวรับว่า
""""""""""""""""""""""""""""      """"""""""""""""""""""""""""""

นสิ   อะนิมิตตา                              -นัตถิ ภันเต
นสิ  นิมิตตะมัตตา                           -นัตถิ ภันเต
นสิ  อะโลหิตา                                -นัตถิ ภันเต
นสิ  ธุวะโลหิตา                              -นัตถิ ภันเต
นสิ  ธุวะโจฬา                                 -นัตถิ ภันเต
นสิ  ปัคฆะรันตี                                -นัตถิ ภันเต
นสิ  สิขะริณี                                    -นัตถิ ภันเต
นสิ  อิตถีปัณฑะกา                         -นัตถิ ภันเต
นสิ  เวปุริสิกา                                 -นัตถิ ภันเต
นสิ   สัมภินนา                                -นัตถิ ภันเต
นสิ   อุภะโตพะยัญชะนะกา            -นัตถิ ภันเต
กุฏฺฐัง                                            -นัตถิ ภันเต     
คัณโฑ                                          -นัตถิ ภันเต
กิลาโส                                          -นัตถิ ภันเต
โสโส                                            -นัตถิ ภันเต
อปมาโร                                        -นัตถิ ภันเต
มนุสสาสิ                                       -อามะ ภันเต
อิตถีสิ                                           -อามะ ภันเต          
ภุชิสสาสิ                                       -อามะ ภันเต       
อนณาสิ                                        -อามะ ภันเต
นสิ  ราชะภะฏี                               -อามะ ภันเต        
อนุญญาตาสิ                                -อามะ ภันเต
มาตาปิตูหิ  สามิเกนะ                   -อามะ ภันเต
ปริปุณฺณะวีสติวัสสาสิ                   -อามะ ภันเต
ปริปุณณันเต ปัตตะจีวรัง               -อามะ ภันเต

กินนาโมสิ อะหัง ภันเต ...
(๑)...นามะ โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต
อายัสมา....
(๒)....นามะ 
(๑) บอกฉายาของตนเอง (๒) บอกฉายาของพระอุปัชฌาย์


คำขออุปสมบท
-------------------

สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.


---- จบพิธีการอุปสมบท "พระภิกษุณี" ------



เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการบวชแล้ว ภิกษุณีใหม่ เดินบิณฑบาตในโบสถ์เพื่อเป็นการ "ฉลองบาตร"

หลังจากนั้นเป็นการแจกทานแก่ญาติโยมที่มาร่วมพิธีอุปสมบทในครั้งนี้ เพื่อเป็นมงคลแก่ตนและครอบครัว



เรียบเรียงขั้นตอนพิธีกรรมการบวช "พระภิกษุณี" อย่างถูกต้อง
โดย... ธัมมวิชชา ภิกษุณี (ดร.กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ)
วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑

สวนปฏิบัติธรรมอริยทรัพย์ 
ภูตะวันรีสอร์ท ๔ ปากช่อง จ.นครราชสีมา
โทรศัพท์ ๐๖๕ - ๔๙๖๖๙๙๑

(ปล. อ้างถึงวิธีการถามอันตรายิกธรรมในการอุปสมบทพระภิกษุณี
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=07&A=6733 )

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คำอธิษฐาน "ขอพร...อันเลิศ" ของข้าพเจ้า

ในภาพอาจจะมี 1 คน

คำอธิษฐาน "ขอพร...อันเลิศ" ของข้าพเจ้า
==============================

ไม่ขอให้มีความสุขตลอดไป
เพราะเป็นไปไม่ได้ 
แต่เมื่อต้องเจอความทุกข์
ก็ขอให้มีจิตที่สงบ
ไม่เร่งร้อนไปกับทุกข์ที่ต้องเจอ

I don’t wish to be happy forever,
for that is impossible.
But when I must encounter suffering,
I do wish to have a calm mind,
not harrowed by the suffering encountered.

ไม่ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไป
เพราะความเป็นจริง..สังขารนั้นไม่เที่ยง
แต่เมื่อต้องพบเจอกับความเจ็บป่วย
ก็ขอให้ใจนั้นไม่ป่วยตาม

I don’t wish to be in strong health forever,
for in reality all compounded things are impermanent.
But when I must experience illness,
I do wish for the mind not to be also ill.

ไม่ขอให้ร่ำรวย
เพราะต้นทุนแต่ละคนไม่เท่ากัน
แต่ขอให้มีความสุขกับสิ่งที่มีพอเพียง
และอิ่มเต็มจากข้างในจิตใจ
แล้วเราก็จะรวยและสุขใจ
เพราะไม่ทุรนทุรายร้องขอในสิ่งที่ไม่มี

I don’t wish to be wealthy,
for all are not equal in their capitals.
But I do wish to be happy with what there is sufficiently
and be sated from within the mind so that
I will then be rich and happy –
minded for not restlessly pining for what there is not.

ไม่ขอให้พบเจอแต่สิ่งดี ๆ
เพราะสิ่งดี ๆ นั้นมีเป็นบางเวลา
แต่ขอให้เข้าใจในความเป็นจริงว่า..
ทุกคนต้องประสบพบเจอความผิดหวัง
เพราะมันคือสัจธรรม

I don’t wish to come across only good things,
for good things come along only once in a while.
But I do wish to understand the reality that everybody has to meet
with disappointment,
for that is the truth.

…………..........................................................................
Jason C ศ.ดร.สมศีล (ผู้แปล)

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต
(ท่านผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ได้แปลบทธรรมะเป็นภาษาอังกฤษ จากเจ้าประคุณสมเด็จ ปยุตฺโต หลายผลงานมาโดยต่อเนื่อง) ได้กรุณาแปลเป็นภาษาอังกฤษและส่งไปให้ ตามที่แนบ
จึงขอส่งมาแชร์เพื่อท่านจักได้ใช้เป็นประโยชน์

วิโรจน์ ตังเดชะหิรัญ