วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561

หลักการใช้ "ผ้าจีวร" ของคณะสงฆ์เป็นอย่างไร?

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน และ ข้อความ

หลักการใช้ "ผ้าจีวร" ของคณะสงฆ์เป็นอย่างไร?
=================================

ครั้งหนึ่งพระอานนท์ได้เดินทางไปยังเมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ ดินแดนของพระเจ้าอุเทน การไปเมืองโกสัมพีครั้งนี้ แม้พระไตรปิฎกจะกล่าวว่าไปเพื่อแจ้งข่าวแก่พระฉันนะ ว่าสงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์แก่ท่านก็จริง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นก็คือการได้พบพระเจ้าอุเทน และได้สนทนากันจนพระเจ้าอุเทนเลื่อมใสยิ่งขึ้น

ในครั้งนั้นมเหสีของพระเจ้าอุเทนได้ถวายผ้าจีวรให้แก่พระอานนท์และคณะสงฆ์จำนวน ๕๐๐ ผืน ทำให้พระเจ้าอุเทนเกิดความรู้สึกสงสัยเรื่องการใช้ผ้าจีวรของคณะสงฆ์เป็นอย่างมาก จึงได้เสด็จไปสนทนากับพระอานนท์ เกี่ยวกับการใช้ผ้าจีวร ดังนี้

พระเจ้าอุเทน : พระคุณเจ้า ผ้าตั้ง ๕๐๐ ผืน พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร? 
พระอานนท์ : อาตมาภาพ จักแบ่งปันให้แก่พระที่มีจีวรเก่า 

พระเจ้าอุเทน : จีวรเก่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร?
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำเป็นผ้ากั้นเพดาน 

พระเจ้าอุเทน : ผ้ากั้นเพดานเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร?
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าปูนอน

พระเจ้าอุเทน : ผ้าปูนอนเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร?  
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าปูพื้น 

พระเจ้าอุเทน : ผ้าปูพื้นเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร?  
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำเป็นผ้าเช็ดเท้า

พระเจ้าอุเทน : ผ้าเช็ดเท้าเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร?  
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าขี้ริ้ว 

พระเจ้าอุเทน : ผ้าขี้ริ้วเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร ?
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปโขลกเคล้ากับดินเหนียวแล้วนำไปฉาบฝากุฏิ

พระเจ้าอุเทนครั้นได้สดับคำตอบจากพระอานนท์ดังนั้นแล้ว...ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก จึงทรงรับสั่งให้ถวายผ้าจีวรเพิ่มเติมอีกเป็น ๑,๐๐๐ ผืน

เรื่องนี้ปรากฏอยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ข้อ ๖๒๕ และ ข้อ ๖๒๖

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ศีล 311 ข้อ ของพระภิกษุณีมีอะไรบ้าง?

ในภาพอาจจะมี 1 คน

ศีล 311 ข้อ ของพระภิกษุณีมีอะไรบ้าง?
===========================

พระภิกษุณีต้องถือศีล 311 ข้อ อันได้แก่ 
ศีล 311 ข้อที่เป็นวินัยของภิกษุณีสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่

ปาราชิก มี 8 ข้อ
สังฆาทิเสส มี 17 ข้อ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี 30 ข้อ
(อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ 10 ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี 166 ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี 8 ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)
เสขิยะ มี 75 ข้อ (ข้อที่ภิกษุณีพึงศึกษาเรื่องมารยาท)
แบ่งเป็น อธิกรณสมถะ มี 7 ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)
รวมทั้งหมดแล้ว 311 ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิกษุณีรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

๐ ปาราชิก มี 8 ข้อได้แก่
=================
1. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวผู้ (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
2. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
3.พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
4. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
5.นางภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการลูบ, การคลำ, การจับ, การต้อง, การบีบ, ของชายผู้มีความกำหนัด เบื้องบนตั้งแต่ใต้รากขวัญ 1 ลงไป เบื้องต่ำตั้งแต่เข่าขึ้นมา
6.นางภิกษุณีรู้ว่านางภิกษุณีอื่นต้องอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตนเอง ไม่บอกแก่หมู่คณะ ต้องอาบัติปาราชิก.
7.นางภิกษุณีประพฤติตามภิกษุที่สงฆ์สวดประกาศยกเสียจากหมู่ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืน ไม่ทำตนให้เป็นสหายกับพระธรรม พระวินัย คำสอนของพระศาสดา. นางภิกษุณีนั้น อันสงฆ์พึงตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือนชี้แจง ถ้าสวดประกาศครบ 3 ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติปาราชิก.
8.นางภิกษุณีที่เป็นคณะเดียวกัน 6 รูป ประพฤติตนไม่สมควร มียินดีการจับมือบ้าง การจับชายสังฆาฏิบ้าง ของบุรุษ ยืนกับบุรุษบ้าง พูดจากับเขาบ้าง นัดหมายกับเขาบ้าง ยินดีการมาตามนัดหมายของเขาบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายให้เขาเพื่อเสพอสัทธรรมบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาราชิกแก่นางภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น

๐ สังฆาทิเสส มี 17 ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้
=========================================
9.นางภิกษุณีฟ้องความกับคฤหบดี บุตรคฤหบดี ทาส กรรมกร หรือแม้โดยที่สุดกับสมณะนักบวช ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
10.นางภิกษุณีรู้อยู่ รับสตรีซึ่งเป็นโจร อันคนทั้งหลายรู้ว่ามีโทษประหาร ให้อยู่ (ให้บวช) โดยไม่บอกเล่า พระราชา, สงฆ์, คณะ, หมู่, พวก เว้นแต่ผู้ที่สมควร (คือบวชในลัทธิอื่นแล้ว หรือบวชในสำนักนางภิกษุณีอื่นอยู่แล้ว) ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
11.นางภิกษุณีแต่ลำพังผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ตาม, ข้ามแม่น้ำก็ตาม, ค้างคืนก็ตาม, ล้าหลังแยกจากหมู่ (ในการเดินทาง) ก็ตาม ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
12.นางภิกษุณีไม่บอกกล่าวสงฆ์ผู้ทำการ ไม่รู้ฉันทะ (ไม่ได้รับความยินยอม) ของคณะ เปลื้องโทษ นางภิกษุณีที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสนา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
13.นางภิกษุณีมีความกำหนัด รับของเคี้ยวของฉันจากมือบุรุษผู้มีความกำหนัด ด้วยมือของตนมาเคี้ยว มาฉัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
14.นางภิกษุณีผู้พูดจูงใจให้ย่อหย่อนพระวินัยต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
15. ห้ามกล่าวาจา บอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เมื่อโกรธเคือง และเมื่อกล่าวไปแล้ว ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ 3 ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
16.ห้ามติเตียนภิกษุณีว่านางภิกษุณีทั้งหลาย ลุแก่อคติ 4 และให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ 3 ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
17.ห้ามรวมกลุ่มกันประพฤติเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี เบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดความชั่วของกันและกันและให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ 3 ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
18.ห้ามนางภิกษุณี กล่าวกะนางภิกษุณีที่ถูกสงฆ์สวดประกาศตักเตือนถ้ามีใครขืนทำ ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน ถ้าไม่ฟัง ให้สวดประกาศเตือน ครบ 3 ครั้งแล้ว ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
19.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
20. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
21. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
22. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
23. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
24. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
25. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์

๐ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี 30 ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
====================================
26. ห้ามสะสมบาตร
27. ห้ามอธิษฐานจีวรนอกกาลและแจกจ่าย
28. ห้ามชิงจีวรคืนเมื่อแลกเปลี่ยนกันแล้ว
29. ห้ามขอของอย่างหนึ่งแล้วขออย่างอื่นอีก
30. ห้ามสั่งซื้อของกลับกลอก
31. ห้ามจ่ายของผิดวัตถุประสงค์เดิม
32. ห้ามขอของมาจ่ายแลกของอื่น
33. ห้ามพูดติเตียนเมื่อถูกลงโทษโดยธรรม
34. ห้ามขอของของคณะมาจ่ายแลกของอื่น
35. ห้ามขอของบุคคลมาจ่ายแลกของอื่น
36. ห้ามขอผ้าห่มหนาวเกินราคา
37. ห้ามขอผ้าห่มฤดูร้อน เกินราคา
38. เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
39. อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
40. เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด 1 เดือน
41. ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
42. รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
43. พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
44. พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
45. ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า 3 ครั้ง
46. รับเงินทอง
47. ซื้อขายด้วยเงินทอง
48. ซื้อขายโดยใช้ของแลก
49. ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน 5 แห่ง
50. เก็บเภสัช 5 (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน 7 วัน
51. แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด 1 เดือนก่อนหน้าฝน
52. ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
53. ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
54. กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
55. น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

๐ ปาจิตตีย์ มี 166 ข้อได้แก่
===================
56.ห้ามฉันกระเทียม
57.ห้ามนำขนในที่แคบออก ที่แคบได้แก่ ขนรักแร่ และช่องให้กำเนิด
58.ห้ามใช้ฝ่ามือตบกันด้วยความกำหนัด
59.ห้ามใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้ (คำว่า ยางไม้ กินความถึงไม้, แป้ง, ดินเหนียว โดยที่สุด แม้ใบบัว) ใส่ในช่องให้กำเนิด
60.ห้ามชำระ (ช่องให้กำเนิด) ลึกเกิน 2 ข้อนิ้ว
61.ห้ามเข้าไปยืนถือน้ำและพัดในขณะที่ภิกษุกำลังฉัน
62.ห้ามทำการหลายอย่างกับข้าวเปลือกดิบ (นางภิกษุณีผู้ขอเอง, ใช้ให้ขอ, ฝัดเอง, ใช้ให้ฝัด, ตำเอง, ใช้ให้ตำ ซึ่งข้าวเปลือกดิบ. หุงต้มเอง ใช้ให้หุงต้ม ฉันข้าวนั้น หรือการฉันข้าวที่ตนทำเองต้องอาบัติ)
63.ห้ามทิ้งของนอกฝานอกกำแพง
64.ห้ามทิ้งของเช่นนั้นลงบนของเขียวสด
65.ห้ามไปดูฟ้อนรำขับร้อง
66.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่มืด
67.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่ลับ
68.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่แจ้ง
69.ห้ามทำเช่นนั้นในที่อื่นอีก (ทำเช่นนั้น คือ ภิกษุณี กับบุรุษสองต่อสอง ยืนอยู่บ้าง สนทนากันบ้าง กระซิบที่หูกันบ้าง ส่งนางภิกษุณีที่เป็นเพื่อนไปเสียบ้าง ในถนนรกบ้าง ในถนนตันบ้าง (ถนนเช่นนี้ เข้าทางไหนต้องออกทางนั้น) ในทางแยกบ้าง)
70. ห้ามเข้าบ้านผู้อื่นแล้วเวลากลับไม่บอกลา
71. ห้ามนั่งนอนบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของบ้านก่อน
72. ห้ามปูลาดที่นอนในบ้านโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน
73. ห้ามติเตียนผู้อื่นไม่ตรงกับที่ฟังมา
74. ห้ามสาปแช่งด้วยเรื่องนรกหรือพรหมจรรย์
75. ห้ามทำร้ายตัวเองแล้วร้องไห้
76. ห้ามเปลือยกายอาบน้ำ
77. ห้ามทำผ้าอาบน้ำยาวใหญ่เกินประมาณ
78. ห้ามพูดแล้วไม่ทำ
79. ห้ามเว้นการใช้ผ้าซ้อนนอกเกิน 5 วัน
(หมายเหตุ : ตามธรรมดานางภิกษุณีมีผ้าสำหรับใช้ประจำ 5 ผืน คือ
(1) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนนอก สำหรับใช้เมื่อหนาว)
(2) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม)
(3) อันตรวาสก (ผ้านุ่ง)
(4) สังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือผ้าโอบ)
(5) อุทกสาฏิกา (ผ้าอาบน้ำ)
พิจารณาดูตามสิกขาบทนี้ เป็นเชิงห้าม เว้นการใช้ผ้าซ้อนนอก คือสังฆาฏิอย่างเดียว แต่ในคำอธิบายท้ายสิกขาบท ขยายความเป็นว่า เว้นผืนใดผืนหนึ่งใน 5 ผืน เกิน 5 วันไม่ได้ คำว่า เว้น คือไม่นุ่งไม่ห่มหรือไม่ตากแดด).
80. ห้ามใช้จีวรสับกับของผู้อื่น
81. ห้ามทำอันตรายลาภจีวรของสงฆ์
82. ห้ามยับยั้งการแบ่งจีวรอันเป็นธรรม
83. ห้ามให้สมณจีวรแก่คฤหัสถ์หรือนักบวช
84. ห้ามทำให้กิจการชะงักด้วยความหวังลอย ๆ
85. ห้ามคัดค้านการเพิกถอนกฐินที่ถูกธรรม
86. ห้ามนอนบนเตียงเดียวกันสองรูป
87. ห้ามใช้เครื่องปูลาดและผ้าห่มร่วมกันสองรูป
88. ห้ามแกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี
89. ห้ามเพิกเฉยเมื่อศิษย์ไม่สบาย
90. ห้ามฉุดคร่านางภิกษุณีออกจากที่อยู่
91. ห้ามคลุกคลีกับคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี
92. ห้ามเดินทางเปลี่ยวตามลำพัง
93. ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น
94. ห้ามเดินทางภายในพรรษา
95. ห้ามอยู่ประจำที่เมื่อจำพรรษาแล้ว
96. ห้ามไปดูพระราชวังและอาคารอันวิจิตร เป็นต้น
97. ห้ามใช้อาสันทิและบัลลังก์
98. ห้ามกรอด้าย
99. ห้ามรับใช้คฤหัสถ์
100. ห้ามรับปากแล้วไม่ระงับอธิกรณ์
101. ห้ามให้ของกินแก่คฤหัสถ์ เป็นต้น ด้วยมือ
102. ห้ามใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนเกิน ๓ วัน
103. ห้ามครอบครองที่อยู่เป็นการประจำ
104. ห้ามเรียนติรัจฉานวิชชา
105. ห้ามสอนติรัจฉานวิชชา
106. ห้ามเข้าไปในวัดที่มีภิกษุโดยไม่บอกล่วงหน้า
107. ห้ามด่าหรือบริภาษภิกษุ
108. ห้ามบริภาษภิกษุณีสงฆ์
109. ห้ามฉันอีกเมื่อรับนิมนต์หรือเลิกฉันแล้ว
110. ห้ามพูดกีดกันภิกษุณีอื่น
111. ห้ามจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
112. ห้ามการขาดปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย
113. ห้ามการขาดรับโอวาทและการขาดการอยู่ร่วม
114. ห้ามการขาดถามอุโบสถและการไปรับโอวาท
115. ห้ามให้บุรุษบีบฝี ผ่าฝี เป็นต้น
116. ห้ามให้บวชแก่หญิงมีครรภ์
117. ห้ามให้บวชแก่หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนม
118. ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาซึ่งศึกษายังไม่ครบ 2 ปี
119. ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาที่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ
120. ห้ามให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง 12
121. ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นอายุครบ 12 แล้ว (หมายความถึงตามข้อ 120) แต่ยังมิได้ศึกษา 2 ปี
122. ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นที่ศึกษา 2 ปีแล้ว(หมายความถึงตามข้อ 120) แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ
123. ห้ามเพิกเฉยไม่อนุเคราะห์ศิษย์ที่บวชแล้ว
124. ห้ามนางภิกษุณีแยกจากอุปัชฌายะ คือไม่ติดตามครบ 2 ปี
125. ห้ามเพิกเฉยไม่พาศิษย์ไปที่อื่น
126. ห้ามให้บวชแก่หญิงสาวที่อายุไม่ครบ 20 ปี(หมายเหตุ : พึงสังเกตว่า หญิงที่มีสามีแล้ว อายุครบ 12 จะบวชเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิกขมานาศึกษาอยู่อีก 2 ปี จนอายุครบ 14 ปีบริบูรณ์แล้ว จึงบวชเป็นนางภิกษุณีได้แต่ถ้ายังมิได้สามี ต้องอายุครบ 20 จึงบวชได้. แต่ก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา 2 ปี ทุกรายไป. ฉะนั้น หญิงที่ประสงค์จะบวชเป็นนางภิกษุณี เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องบวชเป็นสามเณรีและเป็นนางสิกขมานาก่อนอายุครบ เพื่อไม่ต้องยึดเวลาเป็นนางสิกขมานาเมื่ออายุครบแล้ว)
127. ห้ามบวชหญิงที่อายุครบ แต่ยังมิได้ศึกษาครบ 2 ปี
128. ห้ามบวชหญิงที่ศึกษาครบ 2 ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ
129. ห้ามเป็นอุปัชฌาย์เมื่อพรรษาไม่ครบ 12
130. ห้ามเป็นอุปัชฌาย์โดยที่สงฆ์มิได้สมมติ
131. ห้ามรับรู้แล้วติเตียนในภายหลัง
132. ห้ามรับปากว่าจะบวชให้ แล้วกลับไม่บวชให้
133. ห้ามรับปากแล้วไม่บวชให้ในกรณีอื่น
134. ห้ามบวชให้นางสิกขมานาที่ประพฤติไม่ดี
135. ห้ามบวชให้นางสิกขมานาที่มารดาบิดาหรือสามีไม่อนุญาต
136. ห้ามทำกลับกลอกในการบวช
137. ห้ามบวชให้คนทุกปี
138. ห้ามบวชให้ปีละ 2 คน
139. ห้ามใช้ร่มใช้รองเท้า เว้นแต่จะไม่สบาย
140. ห้ามไปด้วยยาน เว้นแต่ไม่สบาย
(หมายเหตุ : ทั้งสองสิกขาบทนี้ เห็นได้ว่าเพื่อมิให้ถูกติว่าเลียนแบบคฤหัสถ์ เป็นการบัญญัติตามกาลเทศ และสิ่งแวดล้อม. ตกมาถึงสมัยนี้ ความรังเกียจคงเปลี่ยนแปลงไป. สิกขาบทเหล่านี้ จึงคงอยู่ในประเภทที่ทรงอนุญาตไว้ก่อนปรินิพพานว่า ถ้าจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ถอนได้ เป็นการเปิดทางให้กาลเทศะ แต่พระสาวกสมัยสังคายนาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้ถอนกันตามชอบใจ จะยุ่งกันใหญ่ คืออาจจะไปถอนสิกขาบทที่สำคัญเข้า แต่เห็นเป็นไม่สำคัญ ฉะนั้น ท่านจึงสวดประกาศห้ามถอน เป็นการใช้อำนาจสงฆ์สั่งการ เช่นนั้น).
141.ห้ามใช้ผ้าหยักรั้ง
142.ห้ามใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง
143. ห้ามอาบน้ำหอมและน้ำมีสี
144. ห้ามอาบน้ำด้วยแป้งงาอบ
145. ห้ามให้นางภิกษุณีทาน้ำมันหรือนวด
146. ห้ามให้นางสิกขามานาทาน้ำมันหรือนวด
147. ห้ามให้สามเณรีทาน้ำมันหรือนวด
148.ห้ามให้นางคหินีทาน้ำมันหรือนวด
149.ห้ามนั่งหน้าภิกษุโดยไม่บอกก่อน
150.ห้ามถามปัญหาภิกษุโดยไม่ขอโอกาส
151.ห้ามเข้าบ้านโดยไม่ใช้ผ้ารัดหรือผ้าโอบ
152.ห้ามพูดปด
153.ห้ามด่า
154.ห้ามพูดส่อเสียด
155.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
156.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุณี)เกิน 3 คืน
157.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
158.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
159.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
160.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
161.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
162.ห้ามทำลายต้นไม้
163.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
164.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
165.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
166.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
167.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
168.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
169.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
170.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน 3 ชั้น
171.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
172.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน 3 มื้อ
173.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
174.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน 3 บาตร
175.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
176.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
177.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
178.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
179.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน 2 คน
180.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
181.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
182.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
183.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
184.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
185.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน 3 คืน
186.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
187.ห้ามดื่มสุราเมรัย
188.ห้ามจี้ภิกษุ
189.ห้ามว่ายน้ำเล่น
190.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
191.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
192.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
193.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆ เว้นแต่มีเหตุ
194.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
195.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
196.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
197.ห้ามฆ่าสัตว์
198.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
199.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดีความ-ข้อโต้เถียง) ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
200.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
201.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน 3 ครั้ง)
202.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
203.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
204.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
205.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
206.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
207.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
208.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
209.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
210.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
211.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
212.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
213.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
214.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
215.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
216.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
217.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
218.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
219.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
220.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
221.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ

๐ ปาฏิเทสนียะ 8 ข้อห้ามขอโภชนะประณีต 8 อย่าง
===================================
222. นางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ห้ามขอบริโภค เนยใส
223. นางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ห้ามขอบริโภค น้ำมัน
224. นางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ห้ามขอบริโภค น้ำผึ้ง
225. นางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ห้ามขอบริโภค น้ำอ้อย
226. นางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ห้ามขอบริโภค ปลา
227. นางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ห้ามขอบริโภคเนื้อ
228. นางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ห้ามขอบริโภค นม
229. นางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ห้ามขอบริโภค นมสด

๐ สารูป มี 26 ข้อได้แก่
================
230. นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
231. ห่มให้เป็นปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
232. ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
233. ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
234. สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
235. สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
236. มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
237. มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
238. ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
239. ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
240. ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
241. ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
242. ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
243. ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
244. ไม่โคลงกายไปในบ้าน
245. ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
246. ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
247. ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
248. ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
249. ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
250. ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
251. ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
252. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
253. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
254. ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
255. ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

๐ โภชนปฏิสังยุตต์ มี 30 ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่
========================================
256. รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
257. ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
258. รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
259. รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
260. ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
261. ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
262. ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
263. ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
264. ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
265. ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
266. ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
267. ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
268. ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
269. ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
270. ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
271. ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
272. ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
273. ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
274. ไม่ฉันกัดคำข้าว
275. ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
276. ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
277. ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
278. ไม่ฉันแลบลิ้น
279. ไม่ฉันดังจับๆ
280. ไม่ฉันดังซูดๆ
281. ไม่ฉันเลียมือ
282. ไม่ฉันเลียบาตร
283. ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
284. ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
285. ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

๐ เสขิยะ ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี 16 ข้อคือ
===============================
286. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
287. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
288. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
289. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
290. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
291. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
292. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
293. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
294. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
295. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
296. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
297. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุณีอยู่บนแผ่นดิน
298. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุณี
299. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุณียืน
300. ภิกษุณีเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
301. ภิกษุณีเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

๐ ปกิณสถะ มี 3 ข้อ
===============
302. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
303. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
304. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ

๐ อธิกรณสมถะ มี 7 ข้อได้แก่
=====================
305. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
306. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
307. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
308. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
309. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
310. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
311. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป


~ ธัมมวิชชา ภิกษุณี (ดร.กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ) ~
สวนปฏิบัติธรรมอริยทรัพย์ 
ภูตะวันรีสอร์ท 4 ปากช่อง จ.นครราชสีมา
โทรศัพท์ 088 - 1415665

"บรรพชิตธรรม ๑๐" ของคณะสงฆ์...มีอะไรบ้าง?

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ สถานที่ในร่ม

(สำหรับคณะสงฆ์...เอาไว้เตือนตนทุก ๆ วัน)
"บรรพชิตธรรม ๑๐" ของคณะสงฆ์...มีอะไรบ้าง?
================================
"อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร" ว่าด้วยธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนื่อง ๆ ๑๐ ประการ เป็นข้อที่คณะสงฆ์ต้องพิจารณาใคร่ครวญมิได้ขาด คือ
๑. บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดๆของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ
๒. ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย
๓. อาการกายวาจาอย่างอื่น ที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้
๔. ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่
๕. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราได้หรือไม่
๖. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น
๗. เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
๘. วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. เรายินดีในที่สงัดหรือไม่
๑๐. คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถาม
(พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ หน้าที่ ๑๕๗ ข้อ ๔๘ เรื่อง "อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘")
~ ธัมมวิชชา ภิกษุณี ~

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คุณสมบัติ ของ "พระภิกษุที่สามารถสอนพระภิกษุณี"

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังยืน และ ข้อความ

คุณสมบัติ ของ "พระภิกษุที่สามารถสอนพระภิกษุณี"
===================================

เนื่องด้วย...มีเพื่อนสหธรรมิกบางท่านได้ฝากข้อความไว้ในกล่องข้อความ ถามถึงเรื่อง "คุณสมบัติของ "พระภิกษุที่สามารถสอนพระภิกษุณี" ต้องเป็นเช่นใด...?

คุณสมบัติ ๘ ประการ...ของ "พระภิกษุที่สามารถสอนพระภิกษุณี" ตามพุทธบัญญํติ (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ ข้อ ๔๐๗ เรื่อง "องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี")

ข้าพเจ้า...กราบขอโอกาส พระมหาเถรานุเถระ / เพื่อนสหธรรมิกทุกรูป ที่จะตอบข้อสงสัยตาม "พุทธบัญญัติ" จากพระไตรปิฏก (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ ข้อ ๔๐๗ เรื่อง "องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี" ) ดังมีเรื่องต้นบัญญัติแบบคร่าว ๆ และ พุทธบัญญัติ คือ

เรื่องต้นบัญญัติ
--------------------
ภิกษุฉัพพัคคีย์ เห็นภิกษุอื่น ๆ สอนนางภิกษุณีแล้วได้รับของถวายต่าง ๆ อยากจะมีลาภบ้าง จึงแจ้งความประสงค์แก่นางภิกษุณีทั้งหลาย เมื่อนางภิกษุณีไปสดับโอวาทก็สอนเพียงเล็กน้อย แล้วชวนสนทนาเรื่องไร้สาระโดยมาก พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุที่ไม่ได้รับสมมติจากสงฆ์ สอนนางภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภายหลังภิกษุฉัพพัคคีย์หาทางสมมติกันเองในที่นอกสีมา พระผู้มีพระภาคจึงทรงกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับภิกษุ ที่จะสอนนาง ภิกษุณีถึง ๘ ข้อ

องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี
---------------------------------------------------
๑. เป็นผู้มีศีล คือสำรวมด้วยปาติโมกขสังวรศีล สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจรอยู่มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

๒. เป็นพหูสูต คือทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นได้สดับมาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยปัญญา

๓. ทรงพระปาฏิโมกข์ทั้งสอง (ภิกษุปาฏิโมกข์และภิษุณีปาฏิโมกข์) มาแล้วด้วยดีโดยพิสดาร แก่ภิกษุนั้น คือ ภิกษุนั้นจำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยได้เรียบร้อยโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย ชัดเจน

๕. เป็นที่นิยมชมชอบของภิกษุณีโดยมาก

๖. เป็นผู้สามารถกล่าวสอนภิกษุณีได้

๗. เป็นผู้ไม่เคยล่วงครุธรรม กับสตรีผู้ครองผ้ากาสายะซึ่งบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ และ

๘. มีพรรษาได้ ๒๐ หรือเกิน ๒๐

ดูกรภิกษุทั้งหลาย...เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์คุณ ๘ ประการนี้ ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีได้.

------ (จบบัญญัติ) -------

ท้ายนี้...หากการตอบคำถามนี้ทำให้เกิดความระคายเคืองแก่ท่านผู้ที่ได้เข้ามาอ่านประการใด ...ข้าพเจ้าขอขมาพระคุณเจ้าทุกรูปมา ณ โอกาสนี้ด้วย

กราบนมัสการด้วยความเคารพยิ่ง

~ ธัมมวิชชา ภิกษุณี (ดร.กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ) ~
สวนปฏิบัติธรรมอริยทรัพย์
ภูตะวันรีสอร์ท ๔ ปากช่อง จ.นครราชสีมา
โทรศัพท์ ๐๘๘ - ๑๔๑๕๖๖๕

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คำขอบวช "พระภิษุณี" โดย ธัมมวิชชา ภิกษุณี (ดร.กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ)



พิธีอุปสมบท "พระภิกษุณี" เริ่มต้นจาก
=========================

๑. การขอขมาพ่อแม่ ญาติพี่น้องและศาสนิกชนชาวพุทธ

๒. เวียนประทักษิณรอบอุโบสถ ๓ รอบ

๓. กราบอุปัชฌาย์ กรมวาจาจารย์ และพระคู่สวด และพระอาจารย์ฝ่ายภิกษุณี

๔. ญาติโยมชาวกัมพูชาสวดมนต์บูชาคุณพระรัตนตรัย

๕.เริ่มต้นพิธีการอุปสมบท (คำขออุปสมบท "พระภิษุณี")

 
คำวันทาสีมา และคำวันทาพระประธาน
----------------------------------------------

อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
( นั่งคุกเข่า ประนมมือ กล่าวว่า )
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
( กราบ ๑ ครั้ง ประนมมือ กล่าวว่า )
อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต ( กราบ ๑ ครั้ง ยืนขึ้นประนมมือ กล่าวว่า )
วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
( นั่งคุกเข่า ประนมมือ กราบ ๓ ครั้ง )


คำขอนิสัย
-------------

อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
( อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ) กล่าว ๓ จบ

พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า            สิกขมานาผู้ขออุปสมบทกล่าวรับว่า
""""""""""""""""""""""""       """""""""""""""""""""""""""""""""""
ปะฏิรูปัง                                   สาธุ ภันเต
โอปายิกัง                                สาธุ ภันเต
ปาสาทิเกนะ สัมปาเทถะ           สาธุ ภันเต

เมื่อกล่าวรับจบ ให้สามเณรีกล่าวต่อไปว่า
(อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร)
กล่าว ๓ จบ แล้วกราบ ๓ ครั้ง


คำบอกบริขาร
-----------------

กรรมวาจาจารย์กล่าวว่า           สิกขมานาผู้ขออุปสมบทกล่าวรับว่า
""""""""""""""""""""""""          """""""""""""""""""""""""""""""""
อะยันเต ปัตตา?                        อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ จีวะรัง?                อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังคะ จีวะรัง?       อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะกะ จีวะรัง?    อามะ ภันเต
อะยัง อุทะกะสาฏิกา จีวะรัง?      อามะ ภันเต
อะยัง สังกัจฉิกา จีวะรัง?            อามะ ภันเต


คำถามอันตรายิกธรรม ๒๔ ข้อ
------------------------------------

กรรมวาจาจารย์กล่าวว่า               สิกขมานาผู้ขออุปสมบทกล่าวรับว่า
""""""""""""""""""""""""""""      """"""""""""""""""""""""""""""

นสิ   อะนิมิตตา                              -นัตถิ ภันเต
นสิ  นิมิตตะมัตตา                           -นัตถิ ภันเต
นสิ  อะโลหิตา                                -นัตถิ ภันเต
นสิ  ธุวะโลหิตา                              -นัตถิ ภันเต
นสิ  ธุวะโจฬา                                 -นัตถิ ภันเต
นสิ  ปัคฆะรันตี                                -นัตถิ ภันเต
นสิ  สิขะริณี                                    -นัตถิ ภันเต
นสิ  อิตถีปัณฑะกา                         -นัตถิ ภันเต
นสิ  เวปุริสิกา                                 -นัตถิ ภันเต
นสิ   สัมภินนา                                -นัตถิ ภันเต
นสิ   อุภะโตพะยัญชะนะกา            -นัตถิ ภันเต
กุฏฺฐัง                                            -นัตถิ ภันเต     
คัณโฑ                                          -นัตถิ ภันเต
กิลาโส                                          -นัตถิ ภันเต
โสโส                                            -นัตถิ ภันเต
อปมาโร                                        -นัตถิ ภันเต
มนุสสาสิ                                       -อามะ ภันเต
อิตถีสิ                                           -อามะ ภันเต          
ภุชิสสาสิ                                       -อามะ ภันเต       
อนณาสิ                                        -อามะ ภันเต
นสิ  ราชะภะฏี                               -อามะ ภันเต        
อนุญญาตาสิ                                -อามะ ภันเต
มาตาปิตูหิ  สามิเกนะ                   -อามะ ภันเต
ปริปุณฺณะวีสติวัสสาสิ                   -อามะ ภันเต
ปริปุณณันเต ปัตตะจีวรัง               -อามะ ภันเต

กินนาโมสิ อะหัง ภันเต ...
(๑)...นามะ โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต
อายัสมา....
(๒)....นามะ 
(๑) บอกฉายาของตนเอง (๒) บอกฉายาของพระอุปัชฌาย์


คำขออุปสมบท
-------------------

สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.


---- จบพิธีการอุปสมบท "พระภิกษุณี" ------



เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการบวชแล้ว ภิกษุณีใหม่ เดินบิณฑบาตในโบสถ์เพื่อเป็นการ "ฉลองบาตร"

หลังจากนั้นเป็นการแจกทานแก่ญาติโยมที่มาร่วมพิธีอุปสมบทในครั้งนี้ เพื่อเป็นมงคลแก่ตนและครอบครัว



เรียบเรียงขั้นตอนพิธีกรรมการบวช "พระภิกษุณี" อย่างถูกต้อง
โดย... ธัมมวิชชา ภิกษุณี (ดร.กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ)
วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑

สวนปฏิบัติธรรมอริยทรัพย์ 
ภูตะวันรีสอร์ท ๔ ปากช่อง จ.นครราชสีมา
โทรศัพท์ ๐๖๕ - ๔๙๖๖๙๙๑

(ปล. อ้างถึงวิธีการถามอันตรายิกธรรมในการอุปสมบทพระภิกษุณี
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=07&A=6733 )

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คำอธิษฐาน "ขอพร...อันเลิศ" ของข้าพเจ้า

ในภาพอาจจะมี 1 คน

คำอธิษฐาน "ขอพร...อันเลิศ" ของข้าพเจ้า
==============================

ไม่ขอให้มีความสุขตลอดไป
เพราะเป็นไปไม่ได้ 
แต่เมื่อต้องเจอความทุกข์
ก็ขอให้มีจิตที่สงบ
ไม่เร่งร้อนไปกับทุกข์ที่ต้องเจอ

I don’t wish to be happy forever,
for that is impossible.
But when I must encounter suffering,
I do wish to have a calm mind,
not harrowed by the suffering encountered.

ไม่ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไป
เพราะความเป็นจริง..สังขารนั้นไม่เที่ยง
แต่เมื่อต้องพบเจอกับความเจ็บป่วย
ก็ขอให้ใจนั้นไม่ป่วยตาม

I don’t wish to be in strong health forever,
for in reality all compounded things are impermanent.
But when I must experience illness,
I do wish for the mind not to be also ill.

ไม่ขอให้ร่ำรวย
เพราะต้นทุนแต่ละคนไม่เท่ากัน
แต่ขอให้มีความสุขกับสิ่งที่มีพอเพียง
และอิ่มเต็มจากข้างในจิตใจ
แล้วเราก็จะรวยและสุขใจ
เพราะไม่ทุรนทุรายร้องขอในสิ่งที่ไม่มี

I don’t wish to be wealthy,
for all are not equal in their capitals.
But I do wish to be happy with what there is sufficiently
and be sated from within the mind so that
I will then be rich and happy –
minded for not restlessly pining for what there is not.

ไม่ขอให้พบเจอแต่สิ่งดี ๆ
เพราะสิ่งดี ๆ นั้นมีเป็นบางเวลา
แต่ขอให้เข้าใจในความเป็นจริงว่า..
ทุกคนต้องประสบพบเจอความผิดหวัง
เพราะมันคือสัจธรรม

I don’t wish to come across only good things,
for good things come along only once in a while.
But I do wish to understand the reality that everybody has to meet
with disappointment,
for that is the truth.

…………..........................................................................
Jason C ศ.ดร.สมศีล (ผู้แปล)

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต
(ท่านผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ได้แปลบทธรรมะเป็นภาษาอังกฤษ จากเจ้าประคุณสมเด็จ ปยุตฺโต หลายผลงานมาโดยต่อเนื่อง) ได้กรุณาแปลเป็นภาษาอังกฤษและส่งไปให้ ตามที่แนบ
จึงขอส่งมาแชร์เพื่อท่านจักได้ใช้เป็นประโยชน์

วิโรจน์ ตังเดชะหิรัญ

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

ธรรมเทศนา...เรื่อง “การปฏิบัติเพื่อเอามรรคเอาผล สำหรับผู้ไม่ต้องการเกิด”

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง และ ข้อความ

ธรรมเทศนาโดย : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เรื่อง “การปฏิบัติเพื่อเอามรรคเอาผล สำหรับผู้ไม่ต้องการเกิด”
==========================================

ธรรมเทศนาครั้งที่ดีที่สุดครั้งหนึ่ง...ในชีวิตของท่าน "พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)" วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

เป็นการเทศน์สอน ที่ยากนักจะได้รับฟังจากที่ใด ตลอดการเทศน์ท่านได้รวบรวมกระแสจิต หลับตาดำดิ่ง ลงสู่ห้วงสมาธิ และถ่ายทอดธรรมจากใจ ออกสู่ทางวาจา

ภิกษุสงฆ์ชราภาพ สังขารเกือบร้อยปี เทศนาธรรมด้วยน้ำเสียงก้องกังวานใส ตลอดระยะเวลา 1ชั่วโมง 20 นาที โดยที่ไม่มีการหยุดดื่มน้ำ ไม่มีการหยุดพักครึ่งใดๆทั้งสิ้น

วันนั้นเป็นวันที่คณะสงฆ์ สายพระป่ากรรมฐาน เดินทางมารวมตัวกันนับหมื่นรูป บางองค์อยู่ต่างจังหวัด บางองค์อยู่ต่างแดน หรือ แม้แต่อยู่ในป่าลึก ก็ยังออกมาฟังธรรมเทศนา ในครั้งนี้ของสุดยอดอรหันต์
จึงถือได้ว่า การรวมตัวของ เหล่าภิกษุในวันนั้น เป็นการรวมตัวกันของเหล่าศิษย์แห่งพระคถาคต ผู้ที่ต้องการบำเพ็ญเพียร เพื่อความหลุดพ้น เป็นการรวมตัวของพระนักปฏิบัติผู้มีนิพพานเป็นธงชัยแทบทั้งสิ้น 

ธรรมะที่สอนกันในวันนั้น จึงเป็นธรรมชั้นสูง เป็นแก่นธรรมแท้ ที่ไม่มีการผ่อนปรนใดๆ เนื้อหาสาระจึงเต็มไปด้วยรสธรรมอันเผ็ดร้อน ดุเดือด องอาจแกล้วกล้า ถึงลูกถึงคน ด้วยมิต้องห่วงคำนึง ถึงความเป็นโลกียะจอมปลอม หรือเป็นห่วงฆราวาส ที่ฟังธรรมเสร็จแล้ว ต้องหวนกลับไป ดูแลลูกผัว เฝ้าเหย้า เฝ้าเรือน ใช้ชีวิตทางโลกธรรม

เทศนาในวันนั้นว่า ด้วยเรื่อง “การปฏิบัติเพื่อเอามรรคเอาผล สำหรับผู้ไม่ต้องการเกิด” เป็นธรรมะชั้นลึก จากประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า ประหนึ่งมหาสมบัติ เพราะทำให้นักเดินทาง ผู้มีนิพพานเป็นธงชัย ได้รู้ชัดถึงหนทางเดินว่า ถ้าปรารถนานิพพานในชาตินี้ เราต้องปฏิบัติอย่างไร เริ่มตรงไหน จบตรงไหน ต้องทำอะไรก่อนหลัง

การเดินทางสู่เส้นทาง แห่งพระนิพพานโดยปราศจากคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์คงไม่ต่างอะไรกับการคลำหาทางกลับบ้านกลางถ้ำมืด เมื่อท่านได้เขียนแผ่นที่ ทิ้งไว้ให้เราแล้ว ก็ถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ สำรวจตรวจสอบกันว่า ในปัจจุบันนี้สองเท้าของเรา กำลังเหยียบย่างอยู่ตรงไหนในระหว่างทางกันแน่ กำลังเดินอยู่ในทาง หรือ หลงออกนอกเส้นทางไปแล้ว

โอกาสนี้เอง ผู้เขียนจึงใคร่ขออนุญาตนำ บทเทศนาของหลวงตามหาบัว มาถอดความ และจำแนกออกเป็นข้อๆ พร้อมทั้งอนุญาต อธิบายเพิ่มเติมสมทบลงไป เพื่อให้เหล่าโยคาวจรทั้งหลายได้ศึกษาหนทาง แห่งการดับทุกข์ ที่ถูกต้องตรงธรรม และ สามารถเข้าใจได้โดยง่าย ไปพร้อมๆกันดังนี้

1. ผู้ปฏิบัติเพื่อมุ่งนิพพาน จะต้องถือศีลให้บริสุทธิ์ ข้อนี้สำคัญมาก ต้องจัดการเรื่องนี้ให้ได้ก่อน เรื่องอื่นใด คือ ใช้ชีวิตอยู่ในกรอบของศีลธรรมความดีงาม อะไรผิดศีล ห้ามทำโดยเด็ดขาด

2. ให้คิดถึงนิพพานทุกขณะ เหมือนนิพพานอยู่ตรงหน้า คือ ระลึกไว้เสมอว่า เราจะไปนิพพานเท่านั้น จุดเดียวที่เดียว อย่างอื่นไม่เอา ให้พุ่งตรง ตัดตรงไปเลย

3. ทำสมาธิในชีวิตประจำวัน ให้ได้ คือ ถ้าใครบริกรรมพุทโธ ก็ให้ทำไป ใครดูลมหายใจ ก็ให้ดูไป เรื่องนี้เน้นย้ำมาก ให้คุมกรรมฐานไว้ระหว่างวัน ส่วนจะใช้กรรมฐานชนิดใด ตรงนี้ใช้ได้หมด ขอให้อยู่ในหมวดกรรมฐาน 40 ไม่มีอะไรผิด จุดนี้ให้เน้นไปที่ การทำสมถะก่อน อย่าเพิ่งไปสนใจวิปัสสนาในช่วงแรกๆ ต้องฝึกให้จิต มีความตั้งมั่นก่อน ให้จิตอยู่กับกรรมฐาน ของตนตลอดเวลาทั้งวัน
ยกเว้นเวลาที่ต้องทำงานเท่านั้น เน้นว่า นี่คือการปฏิบัติเบื้องต้น ไม่ควรทำสุ่มสี่สุ่มห้า ไม่ควรทำผิดไปจากนี้

4. เมื่อทำสมาธิในชีวิตประจำวัน ไปจนจิตเข้าสู่สมาธิได้แล้ว ให้สังเกตดู ช่วงนี้จิตจะปรุงกิเลสน้อยลง เพราะจิตมันอิ่มอารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่งมากขึ้น ทำความสงบได้ง่ายขึ้น พูดง่ายๆ ว่า จิตของเรา เริ่มมีกำลังเกิดความตั้งมั่นได้ง่าย คือ ในชีวิตประจำวัน ก็ทรงอารมณ์อยู่กับกรรมฐานได้
เมื่อทำสมาธิในรูปแบบ ก็มีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ อย่างนี้ถือว่า เริ่มใช้ได้แล้ว ตรงนี้ ให้เริ่มพัฒนาในขั้นตอนต่อไป อย่าหยุดอยู่แค่การทำสมาธิ

5. พอจิตสงบ ตั้งมั่นแล้ว คราวนี้ท่านให้เริ่มเดินปัญญาต่อไปเลย เพียงแค่สมาธิอย่างเดียวนั้น จิตจะไม่มีความกว้างขวาง จะต้องเดินปัญญาต่อ จึงจะเกิดความกว้างขวาง นี่คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าแนะนำเอาไว้ ต้องทำตามพระพุทธเจ้าท่านสอน

6. ให้เริ่มต้นพิจารณาร่างกาย โดยให้แยกเป็นส่วนๆ คือ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ หรือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง 
นี่เป็นตำหรับแท้ๆ ของพระพุทธเจ้า ให้เอามาดูเป็นส่วนๆ ดูสิ เส้นผมของเราเป็นยังไง สะอาดหรือสกปรก เหมือนกันกับขนสัตว์ ชนิดอื่นหรือเปล่า ถ้าไม่อาบน้ำมันจะเป็นอย่างไร แล้วไล่พิจารณาเรียงไปเรื่อยๆ จนครบทั้ง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
กรรมฐาน 5 นี้ เป็นพื้นฐานทางเดินทาง ด้านปัญญา ให้หัดดูไปเรื่อยๆ เห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ก็ให้พิจารณาไป ให้เห็นว่า ที่ทำอยู่นี้คือ หินลับปัญญา

7. เมื่อทำจนชำนาญ ต่อไป ก็ลองแยกให้เป็นธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณาให้เป็น อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกข์ขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) ทำเช่นนี้ สติปัญญาจะมากขึ้นเป็นลำดับ

8. เมื่อพิจารณาสักพัก ก็ให้ย้อนกลับมา
ทำสมาธิ เอาความสงบ เอากำลังของจิตใหม่ ต่อเมื่อจิตอยู่ในความสงบ เริ่มมีกำลังฟื้นตัว ก็กลับมาเดินไปปัญญาอีกครั้ง ให้ทำเช่นนี้สลับไป ห้ามทำอย่างหนึ่งอย่างใด เพียงอย่างเดียว ต้องมีทั้งการทำสมาธิ และเดินปัญญาสลับกันเรื่อยไป

9. เมื่อถึงจุดหนึ่ง คราวนี้ให้กำหนดเป็นอสุภะ อสุภะก็คือ กรรมฐานกองหนึ่ง ที่ทำให้เห็น ธรรมชาติของ ร่างกายคนเรา มีอยู่10 ระยะ คือ -ซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด
-ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ คละด้วยสีต่างๆ
-ซากศพที่มีน้ำเหลือง น้ำหนองไหลเยิ้ม (เน่าเฟะ)
-ซากศพที่ขาดออกเป็น ๒ ท่อน
-ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินแล้ว
-ซากศพที่กระจุยกระจาย
-ซากศพที่ถูกฟันบั่นเป็นท่อนๆ
-ซากศพที่มีโลหิตไหลอาบอยู่ (จมกองเลือด)
-ซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำ เต็มไปหมด
-ซากศพที่เหลืออยู่แต่ ร่างกระดูก หรือ เหลือแต่ท่อนกระดูก
ในการกำหนดอสุภะนี้ ให้กำหนดภาพเหล่านี้
ขึ้นมาตรงหน้าเลย ทำให้ภาพนิ่งอยู่ตรงหน้า อย่างนั้น หมั่นเอาภาพอสุภะมาตั้ง ไว้ตรงหน้าเสมอ ตอนนี้ยังไม่ต้องทำอะไร แค่ให้จิตกำหนดภาพเหล่านี้ให้ได้ก็พอ
แล้วดูไป ดูอย่างเดียว เพ่งไปเลยอย่าให้คลาด เมื่อถึงจุดที่เพียงพอ จิตมันจะรู้ของมันเอง

10. เมื่อถึงจุดที่เพียงพอ แก่ความต้องการของจิต คราวนี้ธรรมชาติจะหมุน ไปสู่ความจริง ซึ่งในขั้นตอนนี้ จะเป็นธรรมที่ละเอียดมาก จิตมันจะมีปัญญา ในเรื่องกามราคะ ถึงตอนนั้น จิตมันจะสิ้นข้อสงสัย ในเรื่องกามราคะไปเลย โดยไม่ต้องมีใครบอก
ในขั้นนี้ จะสำเร็จเป็น พระอนาคามีแล้ว

11. เมื่อทำซ้ำๆ จนบรรลุอนาคามี จิตจะไม่กลับมาเกิดอีก เพราะกามราคะมัน ขาดสะบั้นไปสิ้น จิตมันจะหมุนขึ้นสูงอย่างเดียว ไม่ลงต่ำ ไปอยู่ชั้นพรหมสุทธาวาส เวลานั้นจิตจะรู้ความจริงไปตามลำดับ

12.ทบทวนและย้ำอีกรอบว่า "เมื่อทำสมาธิ(สมถะ) ให้พักเรื่องปัญญา(วิปัสสนา)
และเมื่อเดินปัญญา(วิปัสสนา) ก็ให้พักเรื่องสมาธิ(สมถะ) ทั้งสองสิ่งนี้ จะต้องทำสลับกันไปตลอด ห้ามทิ้งอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำสิ่งหนึ่ง ก็ไม่ต้องคิดถึงอีกสิ่ง คือ ทำความสงบ ก็ทำไป พิจารณาความจริง ก็ทำไป ห้ามนำมาปนกัน ให้ทำสลับไปอย่างนี้เรื่อยๆ ตลอดการปฏิบัติ

13. เมื่อก้าวถึงภูมิอนาคามีแล้ว จะมีภูมิของอนาคามี ที่เข้มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีความเข้มข้นอยู่ 5 ระดับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเลื่อนขึ้นไปเป็นขั้นๆ พวกที่ก้าวข้ามขั้นไปเลยก็มี แต่ส่วนใหญ่ในช่วงกึ่งพุทธกาลเช่นนี้ จะหายาก โดยมากแล้วจะไปทีละขั้น เพราะด่านกามราคะมันยากจริงๆ ไม่ใช่ของง่าย

14. ในขั้นนี้ปัญญา จะเดินอัตโนมัติ ตลอดเวลาแล้ว เห็นนิพพานอยู่ตรงหน้า ช่วงนี้ปัญญาจะฆ่ากิเลส ตลอดเวลาทุกอิริยาบถ ทั้งยืน เดิน นั่ง ฆ่ากิเลสตลอดเวลา ยกเว้นเวลานอนหลับ ตอนนั้นไม่มีคำว่า เผลอแล้ว เพราะปัญญาจะเกิดอย่างถี่ยิบ

15. สติปัญญาเดินมาก ต้องย้อนสู่สมาธิ ห้ามเดินปัญญา แต่อย่างเดียวเด็ดขาด ต้องทำสลับกันไปเช่นนี้

16. ต่อไปจะก้าวเข้าสู่ มหาสติปัญญา ถึงตรงนี้จะหมดนิมิต ที่เกี่ยวกับจิต เหมือนฟ้าแลบตลอด ไม่ต้องบังคับให้จิตทำงาน กิเลสซ่อนอยู่ตรงไหน ปัญญาจะตามไปฆ่าเชื้อที่นั่น
ส่วนใหญ่ถึงตรงนี้ ทุกข์เวทนาจะน้อยมากๆ เหลือเพียงสุขเวทนาเท่านั้น มันจะเห็นสุขเวทนาชัดเจนมาก จุดนี้เองที่มันจะเข้าไปใน ปราสาทราชวัง ไปเจอนายใหญ่ คือ อวิชชา ค้นพบอริยสัจ 4
มันจะเห็นกษัตริย์แห่งวัฏฏะ คือ ตัวอวิชชา ถึงตรงนั้นทุกสรรพสิ่ง จะว่างไปหมด ยกเว้นเพียงตัวเองที่ยังไม่ว่าง

17. เมื่อถึงจิตตะ คือ อวิชชา พอเปิดอันนี้ออก จิตมันก็จ้าขึ้น ตอนนี้ข้างนอกก็สว่าง ภายในก็สว่าง ว่างทั้งหมด
ตัวเราก็ว่าง เป็นวิมุต คือ ธรรมชาติที่แท้จริง
จิตเป็นธรรมธาตุ เป็นภาวะนิพพาน จิตไม่เคยตาย ถึงธรรมชาติแล้ว หายสงสัยล้านเปอร์เซ็นต์

18. แรกเริ่ม ธาตุขันธ์ เป็นเครื่องมือของกิเลส แต่ปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง ธาตุขันธ์จะเป็นเครื่องมือ ของธรรมทั้งหมด"

ธรรมเทศนาของ "หลวงตามหาบัว" ข้างต้นเปรียบได้ ดั่งแผนที่เส้นทางปฏิบัติธรรม ที่ชัดเจนที่สุด ตั้งแต่เบื้องต้นต้น ถึงปลายทางแห่งพระนิพพาน เป็นของขวัญอันล้ำค่า ที่ครูบาอาจารย์ได้มอบแก่ เหล่าศิษย์นักปฏิบัติทั้งหลาย

ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญ...สาธุ ๆ ๆ... กับท่านผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย


วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

"พรอันเลิศ ๓ ประการ" สำคัญไฉน?

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ข้อความ

"พรอันเลิศ ๓ ประการ" สำคัญไฉน?
========================

พรอันเลิศ ๓ ประการ สำหรับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเพื่อเข้าถึง "โลกุตรธรรม" เพื่อทำให้พ้นไปจากโลกียวิสัยและอาสวกิเลสทั้งปวงของสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีดังนี้คือ

๑. ขอให้ไม่มีอนาคต
===============
หมายถึง...ขอให้มีสติ อยู่กับปัจจุบัน แม้วางแผนการงานในอนาคตเอาไว้ก็ไม่ยึดมั่นให้เป็นทุกข์ อยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า จึงเป็น ปัจจุบันธรรม ไม่มีอนาคต สตินี่เป็นเครื่องให้เข้าใกล้ มรรคผล นิพพาน

๒.ขอให้หมดเนื้อหมดตัว
=================
หมายถึง ขอให้หมดอุปาทานในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเรา ของตัวเรา ไม่มีตัวเราอยู่ในที่ใดๆ หมดแล้วซึ่งเนื้อตัวนี้

๓.ขอให้ไม่ผุดไม่เกิด
===============
หมายถึง ขอให้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ย่อลงได้ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อถึงโลกุตรธรรม โดยมี "นิพพาน" อันพ้นจากทุกข์ คือการเกิดอีก


ท้ายนี้...ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ข้าพเจ้า...ขอนอบน้อมคำสอน พระสุปติปันโนเอาไว้ด้วยเศียรเกล้า สาธุ...สาธุ...สาธุ

~ ธัมมวิชชา ภิกษุณี ~

วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

[พิธีกรรม] คำขอบรรพชา "สามเณรี"










คำขอบรรพชา สามเณรี (ต้องท่องได้)
==========================


นั่งกระโหย่ง พนมมือเหนือศีรษะ ตั้งนะโม (๓ จบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

โอกาสะ อะหัง อัยเย ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง อัยเย ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง อัยเย ปัพพัชชัง ยาจามิ.

สัพพะทุกขะนิสสะระณะ นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
อิมัง กาสาวัง คะเหต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง อัยเย,
อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ทุติยัมปิ สัพพะทุกขะนิสสะระณะ นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
อิมัง กาสาวัง คะเหต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง อัยเย,
อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ตะติยัมปิ สัพพะทุกขะนิสสะระณะ นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
อิมัง กาสาวัง คะเหต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง อัยเย,
อะนุกัมปัง อุปาทายะ

...น้อมถวายผ้าไตรแด่ปวัตตินี และ กลับมานั่งพับเพียบประนมมือ
ฟังโอวาท จบแล้ว นั่งกระโหย่ง พนมมือ กล่าวต่อ...

สัพพะทุกขะนิสสะระณะ นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
เอตัง กาสาวัง ทัตต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง อัยเย,
อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ทุติยัมปิ สัพพะทุกขะนิสสะระณะ นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
เอตัง กาสาวัง ทัตต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง อัยเย,
อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ตะติยัมปิ สัพพะทุกขะนิสสะระณะ นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
เอตัง กาสาวัง ทัตต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง อัยเย,
อะนุกัมปัง อุปาทายะ

...รับมอบผ้าไตรคืน ขณะรับกล่าวบทพิจารณาจีวร...

ปฏิสังขาโยนิโส จีวะรัง ปฏิเสวามิ,
ยาวะ เทวะ สีตัสสะ ปฏิฆาตายะ, อุณหัสสะ ปฏิฆาตายะ,
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปฏิฆาตายะ ,
ยาวะเทวะ หิริโกปินะ ปฏิฉาทานัตถัง

... ปวัตตินี ให้มูลกรรมฐาน กล่าวตาม...

 เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
 ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา







คำขอสรณะ และ ขอศีล (ต้องท่องได้)
==========================


นั่งกระโหย่ง พนมมือเหนือศีรษะ

โอกาสะ อะหัง อัยเย ติสะระเณนะสัทธิง ปัพพัชชา ทะสะ สีลัง ธัมมัง
ยาจามิ, อะนุคะหัง กัต๎วา สีลัง เทถะ เม อัยเย อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ทุติยัมปิ อะหัง อัยเย ติสะระเณนะสัทธิง ปัพพัชชา ทะสะ สีลัง ธัมมัง
ยาจามิ, อะนุคะหัง กัต๎วา สีลัง เทถะ เม อัยเย อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ตะติยัมปิ อะหัง อัยเย ติสะระเณนะสัทธิง ปัพพัชชา ทะสะ สีลัง ธัมมัง
ยาจามิ, อะนุคะหัง กัต๎วา สีลัง เทถะ เม อัยเย อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ท่านกล่าว................... น้อมตัวรับว่า “อามะ อัยเย”

ท่านกล่าวนำ นะโม และ พุทธัง .. ให้ว่าตาม.....

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ท่านกล่าว..“ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง” น้อมรับว่า “อามะ อัยเย”
๑. ปาณาติปาตา เวระมณีสิกขา ปะทัง
๒. อทินนาทานา เวระมณีสิกขา ปะทัง
๓. อะพ๎รัห๎มะจะริยา เวระมณีสิกขา ปะทัง
๔. มุสาวาทา เวระมณีสิกขา ปะทัง
๕. สุราเมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมณีสิกขา ปะทัง
๖. วิกาละโภชะนา เวระมณีสิกขา ปะทัง
๗. นัจจะคีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา เวระมณีสิกขา ปะทัง
๘. มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา
เวระมณีสิกขา ปะทัง
๙. อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมณีสิกขา ปะทัง
๑๐. ชาตะรูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะณา เวระมณีสิกขา ปะทัง

กล่าวต่อ.. อิมานิ ปัพพัชชา ทะสะสิกขา ปะทานิ สะมาทิยามิ(๓ จบ)
ท่านกล่าว......................... น้อมตัวรับว่า “อามะ อัยเย”








คำขอนิสัย ต่อ ท่านปวัตตินี (ต้องท่องได้)
=====================


อะหัง อัยเย นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อัยเย นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อัยเย นิสสะยัง ยาจามิ

อุปัชฌาโย เม อัยเย โหหิ (ท่านว่า “ปฏิรูปัง” รับว่า “สาธุ อัยเย")
อุปัชฌาโย เม อัยเย โหหิ (ท่านว่า “ปฏิรูปัง” รับว่า “สาธุ อัยเย")
อุปัชฌาโย เม อัยเย โหหิ (ท่านว่า “ปฏิรูปัง” รับว่า “สาธุ อัยเย")
อัชชะตัคเคทานิ , เถรี มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรียะ ภาโร.(๓ จบ)
กราบ ๓ ครั้ง

ท่านปวัตตินี กล่าวมอบหมายหน้าที่ให้ท่านพระอาจารย์ภิกษุณี สอนต่อไป


คำขอนิสัย ต่อ ท่านพระอาจารย์ภิกษุณี
===========================
===

อะหัง อัยเย นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง อัยเย นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง อัยเย นิสสะยัง ยาจามิ

อาจริโย เม อัยเย โหหิ(ท่านว่า “ปฏิรูปัง” รับว่า “สาธุ อัยเย”)
อาจริโย เม อัยเย โหหิ(ท่านว่า “ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ” รับ “สาธุ อัยเย”)
อาจริโย เม อัยเย โหหิ(ท่านว่า “โอปายิกัง” รับว่า “สาธุ อัยเย”)
อัชชะตัคเคทานิ , เถรี มัยหัง ภาโร ,อะหัมปิ เถรียะ ภาโร.
(๓ จบ)

กราบ ๓ ครั้ง
เสร็จพิธี